ประวัติศาสตร์อันเลอค่า

ทุ่มเทในผลลัพธ์

เอ็มเอสซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ

ภาพรวม

เราคือที่ปรึกษาทางกฎหมายที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร เริ่มก่อตั้งในปี 2562

เอ็มเอสซี อินเตอร์เนชั่นแนลลอว์ ออฟฟิศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2019 ด้วยความมุ่งหมายที่จะเป็นสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายที่ให้บริการแบบครบวงจร โดยให้คำปรึกษาในการทำธุรกรรมทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สำนักงานมีความชำนาญในงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกความในวงกว้าง ทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (Projects) การพัฒนาด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน (Energy and Infrastructure Development) การควบรวมกิจการ (M&A) กฎระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Market Regulations) หลักทรัพย์ (Securities) กฎระเบียบของภาครัฐ (Government Regulations) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) และการฟื้นฟูกิจการของบริษัท (Corporate) เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางสำนักงานได้ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมถึงบริการด้านการดำเนินคดี (Litigation) และด้านกฎหมายดิจิทัล (Digital Law)

รางวัลและการจัดอันดับ

เราได้รับรางวัลและการยอมรับในระดับสากล ด้านที่ปรึกษากฏหมาย

สำนักงานกฎหมาย MSC ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายในรางวัล ALB Southeast Asia Law Awards ทั้งประจำปี 2566 และ 2567 ซึ่งตอกย้ำความเป็นเลิศของบริษัทในการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้ง MSC ยังได้รับรางวัล Highly Regard Lawyer ในปี 2567 ในการจัดอันดับของ IFLR1000

ผู้ก่อตั้ง

คุณสวิตา สุวรรณสวัสดิ์

คุณสวิตา สุวรรณสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและ Managing Partner ของสำนักงาน เป็นทนายความที่ได้รับการยอมรับจาก Asia-Pacific Legal 500 โดยได้รับรางวัล Next Generation Lawyer ในด้านการกำกับดูแลกิจการและตลาดทุน (Corporate Governance and Capital Market) ประจำปี 2559, 2560 และ 2561 และได้รับรางวัล Next Generation Partner ในด้านตลาดทุน (Capital Market) ประจำปี 2562 ทั้งนี้ยังได้รับการยอมรับจาก IFLR1000โดยได้รับรางวัล Highly Regarded Lawyer ในด้านตลาดทุนและการควบรวมกิจการ (Capital Markets and M&A) ประจำปี 2567

เอ็มเอสซี อินเตอร์เนชั่นแนลลอว์ ออฟฟิศ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พระยามนูสารบัญชา (อัมพร จารุประกร) ปู่ทวดของผู้ก่อตั้งสำนักงาน คุณสวิตาซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่ศึกษาทางด้านกฎหมาย และเดินตามรอยปู่ทวดของเธอ

พระยามนูสารบัญชา นามเดิม อัมพร จารุประกร เกิดเมื่อ พ.ศ 2423 สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากสกุลหนึ่งในสกุลเจ้าเมืองมลายูที่ส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในบางกอก อัมพรเริ่มรับราชการในกระทรวงยุติธรรม และศึกษากฎหมายในโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก่อตั้งโดยมหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทยในปี พ.ศ. 2448 เมื่ออายุได้ 25 ปี จึงได้รับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ดังนี้

พ.ศ. 2448 หลวงพฤฒิสารประสิทธิ์

พ.ศ. 2462 พระสารธรรมวินิจฉัย

พ.ศ. 2470 พระยามนูสารบัญชา

ในปี พ.ศ. 2453 เคยมีหนังสือกราบบังคมทูลลาออกจากราชการครั้งหนึ่ง โดยเป็นการลาออกตามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จากคดีพญาระกา หนังสือกราบบังคมทูลลาออก ลงวันที่ 2 มิถุนายน ร.ศ. 129 แสดงรายนามผู้ลงชื่อลาออก ได้แก่ พระยาจักรปาณีศรีศีลปริสุทธิ์, ขุนหลวงพระยาไกรสี, พระยาธนกิจรักษา, พระยามนูสารสาสตร์บัญชา, หลวงนรนิติบัญชาการ, หลวงสุธรรมานุวัตร, หลวงประไพพิทยาคุณ, หลวงประดิษฐ์พิจารณการ, หลวงภักดีวินิจฉัย, หลวงไพจิตรสัตยาดุล, หลวงนิติธรรมพิทักษ์, หลวงปริพนธพจนพิสุทธิ์, หลวงพิศัลย์สารนิติ, หลวงธรารักษ์มนตรี, หลวงอำไพพิจารณกิจ, นายบุญช่วย, หลวงวิศาลวินิจฉัย, พระยาธรรมสารเวทย์, พระยามนูเนตรบรรหาร, พระอนุบุตรศาสตราคม, หลวงศรีสัตยารักษ์, หลวงวิไชยนิตินาท, หลวงสกลสัตยากร, หลวงอาทรคดีราษฎร, นายชม, หลวงอภิบาลประเพณี, หลวงพฤฒิสารประสิทธิ์ และหลวงฤชาประมวญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาพระราชทานอภัยให้กลับเข้ารับราชการในภายหลัง

ในปี พ.ศ. 2456 ได้รับพระราชทานนามสกุล จารุประกร เนื่องจากอยู่ในสกุลช่างชุบ และมีร้านชื่อ นาถาจารุประกร (น.ถ.จ.ก.) ตั้งอยู่ในย่านถนนตีทอง ใกล้กับวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ซึ่งผลิตทั้งทองและเหรียญพระ

ในปี พ.ศ. 2475 ลาออกจากราชการ โดยตำแหน่งราชการตำแหน่งสุดท้าย คือผู้พิพากษาศาลฏีกา และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 สิริอายุได้ 81 ปี

เพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึง พระยามนูสารบัญชา (อัมพร จารุประกร) จึงได้ทำการตั้งชื่อสำนักงานโดยมี M จาก “Manu“, S จาก “Sarabancha” และ C จากชื่อสกุล “Charuprakara

พระยามนูสารบัญชา (อัมพร จารุประกร)

แหล่งที่มาของรูปภาพ: https://th.wikipedia.org/wiki/พระยามนูสารบัญชา%28อัมพรจารุประกร%29

Scroll to Top