การส่งต่อทรัพย์สิน

MSC Article การส่งต่อทรัพย์สิน (มรดก) เป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ว่าใครก็จะอยากจะมีทรัพย์สินไว้ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ความมั่นคงและมั่งคั่งแก่ชีวิตของตน ซึ่งทรัพย์สินที่หามาได้นั้นนอกจากจะมีส่วนที่ต้องกินต้องใช้จนหมดไปแล้ว หลายคนยังได้กันส่วนสะสมไว้เพื่อใช้ในอนาคตของตนเองรวมไปถึงแจกจ่ายให้แก่ครอบครัวและลูกหลานด้วย อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนจะทราบว่าต้องเก็บรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ไว้อย่างไร แต่กลับไม่ทราบว่าควรจะส่งต่อทรัพย์สินดังกล่าวอย่างไร โดยวิธีใดและในเวลาใด และหากไม่ได้จัดการเรื่องการส่งต่อทรัพย์สินไว้ผลจะเป็นอย่างไร ในบทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับเส้นทางของทรัพย์สินที่จะถูกส่งต่อไป ทั้งด้วยวิธีตามกฎหมายและวิธีตามความประสงค์ของเจ้าของทรัพย์สิน ถ้าไม่ได้จัดการทรัพย์สินไว้ ทรัพย์สินจะตกแก่ใครบ้าง ในกรณีที่ไม่ได้มีการจัดการทรัพย์สินไว้ เมื่อเจ้าของทรัพย์สินเสียชีวิตทรัพย์สินจะตกแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ และตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติมีทั้งสิ้น 6 ลำดับดังนี้ ผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของเจ้าของทรัพย์สิน ได้แก่ บุตร (รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เจ้าของทรัพย์สินจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย) หลาน เหลน ลื้อ ตามลำดับ โดยในระหว่างผู้สืบสันดานด้วยกัน ผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน เช่น ในขณะที่เจ้าของทรัพย์สินซึ่งเป็นเจ้ามรดกเสียชีวิต เจ้าของทรัพย์สินมีทั้งลูกและหลาน กรณีดังกล่าวลูกจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน แต่ในทางกลับกันหากลูกของเจ้าของทรัพย์สินเสียชีวิตไปก่อนเจ้าของทรัพย์สินแล้ว หลานของเจ้าของทรัพย์สินจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินแทน กรณีดังกล่าวเรียกว่า “การรับมรดกแทนที่” บิดา มารดา บิดา มารดา หมายถึง บิดา มารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งผู้ที่เป็นบิดาต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้าของทรัพย์สินอยู่ขณะที่เจ้าของทรัพย์สินเกิดจึงจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของทรัพย์สิน ส่วนในกรณีของมารดาแม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายใดเลย มารดาก็เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของทรัพย์สินเสมอ […]

การส่งต่อทรัพย์สิน Read More »